ทำไมจีนถึงชอบเลียนแบบไปเสียทุกอย่าง "ก็อปปี้"ได้แม้กระทั่งเมือง

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมจีนถึงชอบเลียนแบบไปเสียทุกอย่าง "ก็อปปี้"ได้แม้กระทั่งเมือง  (อ่าน 3244 ครั้ง)

joliez

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2112
  • พลังน้ำใจ: 14
    • ดูรายละเอียด
เป็นที่รู้กันดีว่า จีนเป็นแหล่งผลิตสำคัญของสินค้าปลอมแปลงหลายประเภท ทั้ง ดีวีดีหนัง ไอโฟน สินค้าแบรนด์เนม แต่วัฒนธรรมการปลอมแปลงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับสิ่งของเท่านั้น แต่ยังลามมาถึงสถาปัตยกรรม และสิ่งก่อสร้าง ถึงขนาดมีการก็อปปี้เมืองทั้งเมือง

ภาพมุมสูงของ"เทมส์ทาวน์"

หากเราเดินทางไปยัง"เทมส์ ทาวน์"  ที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองใหม่ซ่งเจียง ห่างจากนครเซี่ยงไฮ้ไปราว 30 กม. เราก็จะพบกับเมืองจำลองที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมแบบอังกฤษ ไร้ซึ่งความจอแจของผู้คนที่พบเห็นได้ตามเมืองใหญ่ของจีน

นายโทนี แมคเคย์ สถาปนิกชาวอังกฤษที่รับหน้าที่ทำมาสเตอร์แพลนโครงการเทมส์ทาวน์และเขตที่อยู่อาศัยโดยรอบ เปิดเผยว่า ภาพที่ปรากฏให้ความรู้สึกเหมือนได้อยู่ในยุโรปจริงๆ เมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่าจ้างเขาให้ออกแบบโครงการเมื่อปี 2001 เขาพบว่าที่นี่ยังคงเป็นที่ที่เกษตรกรรมและฟาร์มเลี้ยงเป็ด


ส่วนปัจจุบัน ที่นี่เต็มไปด้วยถนนหนทางสะอาดสะอ้าน ตึกรามบ้านช่องแปลกตา หรือมีแม้กระทั่งรูปปั้นของนายพลวินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ รวมถึงหอประชุมที่สร้างโดยอิงสถาปัตยกรรมในยุคกลาง แต่แมคเคย์เองก็ยังรู้สึกไม่พอใจต่อภาพรวมนัก เขากล่าวว่า มันยังดูไม่ค่อยเข้าท่า และมีบางอย่างผิดไปจากของจริง

เขากล่าวว่าสถาปนิกที่ทำหน้าที่ออกแบบ จับเอาสถาปัตยกรรมต่างๆมาอยู่รวมกันอย่างสะเปะสะปะ โดยไม่สนใจถึงสภาพความเป็นจริง โดยอาคารบางหลังเป็นบ้านกึ่งไม้กึ่งปูนที่สูงถึง 6 ชั้น และหน้าต่างโบสถ์ก็ดูประหลาดเกินไป อีกทั้งการเลือกใช้วัสดุก็ไม่ถูกต้อง

อย่างไรก็ดี พื้นที่ส่วนใหญ่ของโครงการดังกล่าวถูกซื้อไปจากผู้ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น จึงแทบไม่มีผู้คนอยู่อาศัยจริง ทำให้เมืองดูเงียบเหงา และนี่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

สำหรับแมคเคย์แล้ว ที่นี่ดูเหมือนสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ และมีบล็อกเกอร์ต่างชาติรายหนึ่งเคยแสดงความคิดเห็นว่า ที่นี่ดูเหมือนฉากในหนังเรื่อง"เดอะ ทรูแมน โชว์"


แต่สำหรับชาวจีนแล้ว พวกเขาไม่สนใจว่ามันจะมีความผิดเพี้ยนมากเพียงใด ฟานหยูเจ้อ พร้อมว่าที่เจ้าสาว ได้เลือกที่นี่เป็นสถานที่ถ่ายรูปแต่งงาน เขากล่าวว่า เขาชอบดูฟุตบอลยุโรปและสนใจสิ่งต่างๆที่มาจากยุโรป และหวังว่าสักวันหนึ่งจะได้ไปนั่งชมทิวทัศน์ จิบชา ที่ริมแม่น้ำเทมส์ของจริงที่อังกฤษ ส่วนจางลี่ ซึ่งเดินทางมาที่นี่พร้อมแม่และญาติๆ กล่าวว่า เธอมักมาที่นี่ในวันหยุด เพราะเบื่อความวุ่นวายในเซี่ยงไฮ้ แต่ที่นี่เต็มไปด้วยสีเขียวและบ้านเรือนแปลกตา และด้วยเงินเดือนน้อยนิด เธอเองก็คงไม่มีโอกาสได้ไปอังกฤษอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ โครงการเทมส์ ทาวน์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "หนึ่งเมืองใหญ่ เก้าเมืองเล็ก" ซึ่งหากมองจากภาพถ่ายทางอากาศจะพบว่า มีกลุ่มชุมชนย่อยๆตั้งอยู่รอบๆเมือง ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันไป

(ซ้าย)หมู่บ้าน"ฮาลล์สตัตต์"ของจริงในออสเตรีย และหมู่บ้านเลียนแบบในจีน (ขวา)

นอกจากที่นี่แล้ว จีนยังมีสิ่งก่อสร้างที่เลียนแบบมาจากสถานที่าคัญทั่วโลก อาทิ หอไอเฟล สะพานทาวเวอร์บริดจ์ หรือกระทั่งสโตนเฮนจ์ และเมื่อปีที่แล้วได้มีผู้ลงทุนสร้างหมู่บ้านที่เลียนแบบ"ฮาลล์สตัตต์"พื้นที่มรดกโลกในออสเตรีย ในมณฑลกวางตุ้ง

ด้านเบียงกา บอสเกอร์ ผู้แต่งหนังสือเรื่อง "Original Copies: Architectural Mimicry in Contemporary China" เรียกสถาปัตยกรรมที่กล่าวมาข้างต้นว่า "สถาปัตยกรรมผลิตซ้ำ" แม้ชาวตะวันตกส่วนใหญ่จะมองว่าสถาปัตยกรรมเช่นนี้ประหลาดและไร้ค่า แต่กับชาวจีนพวกเขามองว่ามันดูสวยและน่ารัก

ในเมืองใหญ่เกือบทุกแห่งของจีน มักจะมีย่านชุมชนที่มีการสร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก บอสเกอร์กล่าวว่า กว่า 2 ใน 3 ของที่อยู่อาศัยที่มีการขายในตลาดของนายหน้าบางราย มักมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก เธอมองว่านี่เป็นเพราะชาวจีนมีทัศนคติต่อการก็อปปี้ที่แตกต่างจากชาวตะวันตก ที่มองว่าการก็อปปี้เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้  ขณะที่ในจีน การลอกเลียนแบบถูกมองว่าเป็นความสามารถชั้นยอด และสมควรได้รับการยอมรับ

หอไอเฟลที่เมืองหางโจว

นอกจากนั้น วัฒนธรรมการเลียนแบบของจีน อาจสืบความไปได้ไกลถึงยุคจักรพรรดิองค์แรกของจีน หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ โดยพระองค์บัญชาให้สร้างพระราชวังต่างๆที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกันในเมืองหลวง

บอสเกอร์กล่าวว่า ทำเนียบขาว ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดศูนย์รวมอำนาจของอเมริกา เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีการสร้างเลียนแบบมากที่สุดในจีน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะปลาบปลื้มกับสถาปัตยกรรมเลียนแบบเช่นนี้

ตงหมิง สถาปนิกในนครเซี่ยงไฮ้กล่าวว่า จีนเองก็มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นไม่เหมือนใครอยู่หลายแห่ง ทั้งสวนโบราณเมืองซู่โจว หรือพระราชวังต้องห้าม ที่ล้วนแต่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

อาคารเลียนแบบรัฐสภาสหรัฐฯที่เมืองหวูซีและฟู่หยาง

เขากล่าวว่าอันที่จริงคนจีนเองก็ให้คุณค่ากับสถาปัตยกรรมของตนมากเช่นกันแต่ในช่วงที่อะไรๆกำลังปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผู้คนต้องการอะไรที่รวดเร็ว บริโภคง่าย ซึ่งก็คือการเลียนแบบตะวันตก ที่มองแล้วรู้สึกปลาบปลื้มและพบเห็นได้ตามสื่อทั่วไป  ผู้คนมักต้องการสิ่งที่มีตัวตนชัดเจน และก็ไม่รู้ว่าจะหันไปหาอะไรอีก ดังนั้นพวกเขาจึงไขว่คว้าสิ่งที่ใกล้ตัวไว้ก่อน  ตงหมิงคิดว่า ในที่สุดแล้ว สถาปัตยกรรมจีนก็จะพบหนทางของตนเองได้ในที่สุด

บอสเกอร์กล่าวว่า โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บางแห่ง ได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ที่มีกลิ่นอายจองความเป็นจีนอยู่ด้วย อาทิ การสร้างสวนแบบจีน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักฮวงจุ้ย

ส่วนโทนี แมคเคย์กลับมองว่า โครงการใหม่ๆในยุคปัจจุบัน ถูกสร้างเพื่อต้องการให้จีนดูก้าวทันโลก หลังจากถูกตัดขาดจากโลกภายนอกมานานหลายสิบปี คนรุ่นใหม่ก็ต้องการอะไรที่ดูทันสมัย ล้ำหน้า มากกว่าอะไรที่ดูโบราณและล้าหลัง

(ซ้าย)โครงการ"หวังจิง โซโห" ในกรุงปักกิ่ง และ(ขวา)โครงการเลียนแบบที่ฉงชิ่ง

หนึ่งในโครงการที่เห็นได้ชัดคือ โครงการ"หวังจิง โซโห" ในกรุงปักกิ่ง ที่ออกแบบโดย ซาฮา ฮาดิด สถาปนิกหญิงชื่อดังเชื้อสายอังกฤษ-อิรัก โดยเมื่อโครงการเสร็จสิ้น มันจะเป็นอาคาร 3 หลัง ที่ดูเหมือนปลาที่กำลังกระโดขึ้นจากน้ำ

แต่ปัญหาสำคัญก็คือ ได้มีโครงการสร้างตึกเลียนแบบที่นครฉงชิ่ง และคาดว่าตึกเลียนแบบนี้ จะสร้างเสร็จก่อนอาคารจริงๆเสียอีก
 
 
แปลและเรียบเรียงจาก "Why China loves to build copycat towns"
By Ruth Morris



bot2535

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
  • พลังน้ำใจ: 0
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณสำหรับข้อมูล

misutaja

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
  • พลังน้ำใจ: 0
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณม๊ากๆๆๆ

Kaitokuro

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
  • พลังน้ำใจ: 0
    • ดูรายละเอียด
เขียนลายละเอียดได้ดีมากครับ

Colostavwv

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
  • พลังน้ำใจ: 0
    • ดูรายละเอียด
เป็นบทความที่ดีมากเลยครับ มองได้หลายๆ มุมเลยครับ